เทศบาลตำบลจะนะ เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นควบคู่มากับการจัดตั้งอำเภอ เดิมเรียกว่า “สุขาภิบาลอำเภอจะนะ” โดยมีนายอำเภอ เป็นประธานคณะกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ต่อมา รัฐบาลมีนโยบายกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นให้กว้างยิ่งขึ้น จึงได้ยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็น “เทศบาลตำบลจะนะ” เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542
สำนักงานเทศบาลตำบลจะนะ ตั้งอยู่ ณ อาคารไม้บ้านเช่า 2 ห้อง ถนนสุคนธรักษ์ ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่หลังที่ว่าการอำเภอจะนะ จนถึง พ.ศ.2546 เทศบาลตำบลจะนะได้สร้างอาคารใหม่ขึ้นซึ่งตั้งอยู่ซอยหลังที่ว่าการอำเภอจะนะ ติดกับ โรงพยาบาลจะนะจนถึงปัจจุบัน
ประวัติการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลจะนะ และ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลจะนะ
- วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เป็นการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลจะนะครั้งแรก
ซึ่งเป็นการเลือกสมาชิกสภาเทศบาล(เพิ่มเติม) จำนวน 3 คน ให้ครบจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยมี นายเจะหมะ เลาะปิ ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลจะนะคนแรก สมาชิกสภาเทศบาลอยู่ครบวาระ และมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ตามที่ กกต.กำหนด
- วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 มีการจัดการเลือกตั้งใหม่และผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งคือ
นายเจะหมะ เลาะปิ ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ครบวาระและมีการเลือกตั้งใหม่ตามที่ กกต.กำหนด
- วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มีการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแบบแบ่งเขตและเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงเป็นครั้งแรก ผลการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาลจากทีมจะนะเมืองใหม่ ได้รับเลือกตั้งเข้ามา จำนวน 9 คน ทีมรักจะนะได้รับการเลือกตั้ง จำนวน 3 คน โดยนายสุริยะ ปาลาเร่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ครบวาระและมีการเลือกตั้งใหม่ตามที่ กกต.กำหนด
- วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554 มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ผลการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาลจากทีมรักจะนะ จำนวน 7 คน และ จากทีมจะนะเมืองใหม่ จำนน 5 คน โดยนายเจะหมะ เลาะปิ ทีมรักจะนะ ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ครบวาระและมีการเลือกตั้งใหม่ตามที่ กกต.กำหนด
- วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ผลการเลือกตั้ง นายสุริยะ ปาลาเร่ ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีและดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
"จะนะเมืองน่าอยู่"
พันธกิจ
1. สร้างเส้นทางคมนาคมที่สะดวก ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
2. สร้างโอกาสให้ประชาชน กลุ่มชน องค์กร ภาคีต่างๆ มีส่วนร่วมกับเทศบาล
3. สร้างโอกาสในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประชาชน ภายใต้วิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่น
อย่างยั่งยืน
4. สร้างระบบการบริหารจัดการให้ประชาชนมีความสุขแบบยั่งยืน
จุดมุ่งหมาย
1. การระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพลดปัญหาน้ำท่วมขัง
2. ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัยในการสัญจรไปมา
3. ประชาชนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ
4. ประชาชนเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสาธารณะ
5. ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านระบบสารสนเทศที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว
6. การบริหารจัดการโปร่งใส มีประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน และสังคมมีส่วนร่วม
7. เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรมอันดีต่อสังคม
8. ประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ประเพณีท้องถิ่นและสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามสู่รุ่นหลัง
9. ประชาชนได้รับการศึกษาเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
10. ประชาชนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและมีทางเลือกที่หลากหลาย
11. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ สามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข
12. ประชาชนมีร่างกายแข็งแรง และมีสถานที่ออกกำลังกาย
13. ประชาชนปฏิบัติตามกฎจราจร
14. บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย
15. ประชาชนมีสุขอนามัยที่ดี และห่างไกลยาเสพติด
16. ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้เพียงพอและรองรับการท่องเที่ยวเมืองจะนะ
17. ประชาชนหวงแหน รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
18. เมืองจะนะมีความสวยงาม สะอาด ปลอดขยะ มีความเป็นระเบียบ และมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ความเป็นมา จะนะเดิมเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เมือง ได้แก่ ปะเหลียน จะนะ เทพา และสงขลา ต่อมา สงขลาได้แยกออกจากเมืองพัทลุง จะนะ จึงไปขึ้นกับเมืองสงขลา
มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนใต้และมีการสู้รบกับหัวเมืองมลายูตลอดเวลา
ขณะนี้เป็นเมืองขึ้นของพัทลุง เจ้าพระยาพัทลุง (บุน) ได้แต่งตั้งนายอินทร์ หรือเณรน้องชาย ไปเป็นเจ้าเมืองจะนะ มีพระราชทินนามว่า "พระมหานุภาพปราบสงคราม" ซึ่งบ่งบอกให้รู้ว่าเจ้าเมืองเป็นนักรบ
เมืองจะนะ จึงน่าจะเป็นสมรภูมิรบ แต่ที่ตั้งเมืองจะนะในขณะนั้นคือ ที่นาทวีเมืองจะนะไปเป็นเมืองขึ้นของสงขลา เจ้าเมืองสงขลาได้แต่งตั้งให้นายฉิน บุตรของอดีตเจ้าเมืองสงขลา (โยม) ขึ้นเป็นขุนรองราชมนตรี
คุมไพร่ส่วยดีบุก 9 หมวด ทำให้เมืองจะนะกับเมืองสงขลา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
ในระยะที่พม่าส่งกองทัพใหญ่ลงไปตีหัวเมืองภาคใต้ ทั้งเจ้าเมืองจะนะและขุนรองราชมลตรีเมืองจะนะ ประสบชะตากรรม ถูกประหารชีวิต เนื่องจากกรมพระราชวังบวรนทสุรสีหนาถ
ยกทัพจากรุงเทพมาปราบพม่าและหัวเมืองทางใต้ คือ ปัตตานี พบว่าเจ้าเมืองจะนะ ได้ลอบมีหนังสือไปถึงพม่าให้มาตีเมืองสงขลาและพัทลุง ส่วนขุนรองราชมนตรี มีความขัดเคืองกับพระสงขลาและได้ก่อกบฎพร้อมกับนายทหารทิดเพ็ชร
ยึดเมืองสงขลาและสำเร็จราชการเองได้ ปฏิบัติงานประมาทปล่อยเชลยเมืองปัตตานีหลบหนีไป
ทำเนียบนายกเทศมนตรีตำบลจะนะ
ลำดับที่ |
ชื่อ - สกุล |
ดำรงตำแหน่ง |
หมายเหตุ |
ตั้งแต่ |
ถึง |
1 |
นายเจะหมะ เลาะปิ |
25 พ.ค. 42 |
24 พ.ค. 46 |
|
2 |
นางวิไลวัลย์ อมตเวทย์ |
25 พ.ค. 46 |
25 ก.ย. 46 |
ปฏิบัติหน้าที่ นายกฯ |
3 |
นายเจะหมะ เลาะปิ |
26 ก.ย. 46 |
4 ก.ค. 50 |
|
4 |
นายสุริยะ ปาลาเร่ |
12 ส.ค. 50 |
11 ส.ค. 54 |
|
5 |
นายเจะหมะ เลาะปิ |
18 ก.ย. 54 |
1 ก.พ. 64 |
|
6 |
นายบรรหาญ โพธิกุล |
2 ก.พ. 64 |
27 มี.ค. 64 |
ปฏิบัติหน้าที่ นายกฯ |
7 |
นายสุริยะ ปาลาเร่ |
28 มี.ค. 64 |
ปัจจุบัน |
|